วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

สับเซตและเพาเวอร์เซต



สับเซต

บทนิยาม เซต A เป็นสับเซตของเซต B ก็ต่อเมื่อ สมาชิกทุกตัวของเซต A เป็นสมาชิกของเซต B และสามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ A B

ตัวอย่างที่                    A = {1, 2, 3}                                                                                                       
       B = { 1, 2, 3, 4, 5}
       A B
ตัวอย่างที่ 2                     C = { x | x เป็นจำนวนเต็มบวก } = {1,2,3,...}
                                        D = { x | x เป็นจำนวนคี่ } = {...,-3,-1,1,3,...}
                              C D
ตัวอย่างที่ 3                     E = { 0,1,2 }
                                        F = { 2,1,0 }
                              E F และ F E
จากตัวอย่างที่ 3 จะเห็นว่า E F และ F E แล้ว E = F
สับเซตแท้               เซต A จะเป็นสับเซตแท้ของเซต B ก็ต่อเมื่อ A B และ A B
จำนวนสับเซต        ถ้า A เป็นเซตที่มีสมาชิก n สมาชิกแล้ว จำนวนสับเซตของเซต A จะมี 2n เซต และในจำนวนนี้เป็นสับเซตแท้ 2n - 1 เซต
เพาเวอร์เซต
บทนิยาม เพาเวอร์เซตของเซต A คือ เซตซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสับเซตทั้งหมดของเซต A และสามารถเขียนแทนได้
ด้วยสัญลักษณ์ P(A)
ตัวอย่างที่ 1       A = Ø
                                สับเซตทั้งหมดของ A คือ Ø
                        P(A) = {Ø }

ตัวอย่างที่ 2            B = {1}
                                สับเซตทั้งหมดของ B คือ Ø, {1}
                        P(B) = {Ø, {1} }
ตัวอย่างที่ 3            C = {1,2}
                                สับเซตทั้งหมดของ C คือ Ø, {1} , {2}, {1,2}
                        P(C) ={Ø, {1} , {2}, {1,2} }









 
ที่มา
 http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/math04/07/2/BasicMathForM4/set_kin.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น